วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2558

เริ่มเรียนทำเบเกอรี่ กับ 4 ชนิดขนมปังที่จำเป็นต้องรู้จัก

ทุกๆคนรู้หรือไม่ว่าขนมปังที่เราที่กินกันอยู่ในปัจจุบันนั้นมีกี่ชนิดและแต่ละชนิดมีความต่างกันอย่างไร วันนี้โรงเรียนสอนทำเบเกอรี่ครูอ้วน จะแนะนำให้รู้จักเกี่ยวกับขนมปังแต่ละชนิดกันมากขึ้น ว่าจริงๆแล้วขนมปังมีอยู่กี่ชนิดและแต่ละชนิดนั้นมีความคล้ายกันอย่างไรเรามาทำความรู้จักและเริ่มเรียนทำเบเกอรี่กันได้เลย



เริ่มจากชนิดของขนมปัง สำหรับชนิดขนมปังนั้นสามารถแบ่งได้ตามปริมาณของน้ำตาลและไขมันที่อยู่ในขนมปัง ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท คือ

  1. ขนมปังผิวแข็ง (Hard Bread) โดยขนมปังผิวแข็งหรือHard Bread ส่วนมากแล้วจะมีปริมาณของน้ำตาลอยู่ที่ 0-2% และมีไขมันต่ำเพียงแค่0-3% ทำให้เนื้อขนมปังชนิดนี้จะมีเนื้อที่ได้มีความชุ่มชื้นน้อยและมีเปลือกนอกแข็ง ยกตัวอย่างเช่น บาแก็ต หรือที่เราเรียกกันว่าขนมปังฝรั่งเศส เป็นต้น “นั่นแน่” เริ่มเรียนทำเบเกอรี่ กับขนมปังชนิดแรกไปแล้ว เรามาดูชนิดต่อไปกันครับ
  2. ขนมปังจืด (Loaf Bread) ส่วนขนมปังจืดหรือLoaf Bread ส่วนใหญ่จะมีปริมาณของน้ำตาลอยู่ที่ 4-8 เปอร์เซ็นต์มีปริมาณไขมันอยู่ที่ 3-6%ยกตัวอย่างขนมปังแบบชนิดขนมปังจืดที่เรารู้จักกันดีเช่นขนมปังแซนวิช ขนมปังหัวกระโหลก เป็นต้น ขนมปังชนิดนี้ค่อนข้างทำง่ายเหมาะมากสำหรับผู้ที่เพิ่งจะ “เริ่มเรียนทำเบเกอรี่”

 

  1. ขนมปังกึ่งหวาน (Soft bun) สำหรับขนมปังกึ่งหวานหรือSoft bun โดยทั่วไปจะมีปริมาณของน้ำตาล มากถึง 10-14เปอร์เซ็นต์มีปริมาณไขมันอยู่ที่ 8-12% เลยทำให้เนื้อของขนมปังชนิดนี้จะมีลักษณะของเนื้อขนมปังที่นุ่มนิ่มหรืออาจจะมีไส้ด้วยก็ได้เช่นกันยกตัวอย่างขนมปังชนิดนี้เช่น ขนมปังแฮมเบอเกอร์ ขนมปังฮอทดอก เป็นต้น ขนมปังชนิดนี้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย หากเรียนทำเบเกอรี่ชนิดนี้ไม่ผิดหวังแน่นอนครับ
  2. ขนมปังหวาน (Sweet Dough) ขนมปังชนิดสุดท้ายอย่างขนมปังหวานหรือSweet Dough ทั่วไปจะมีปริมาณของน้ำตาลสูงถึง 16-22%และจะมีปริมาณของไขมันอยู่ที่ ร้อยละ 12-24เลยทีเดียว

สำหรับในส่วนของส่วนผสมขนมปังนั้น จะแบ่งส่วนผสมหลักๆที่ใช้ในการทำขนมปังออกเป็น 2 ส่วนคือ
1.ส่วนผสมที่เป็นองค์ประกอบ|หลักๆของขนมปังอย่างเช่น แป้งสาลี ยีสต์ น้ำ และ เกลือ
2.ส่วนผสมอื่นๆ จะขึ้นอยู่กับชนิดและลักษณะของขนมปังที่เราต้องการ เช่น น้ำตาล เนย นม ไข่ไก่ ผลไม้ โกโก้ เป็นต้น
โดยขนมปังที่อบจนสุกแล้วควรรีบนำออกจากแม่พิมพ์หรือถาดอบ ก่อนจะวางทิ้งไว้บนตระแกรงเพื่อไม่ให้ก้นขนมปังแฉะ นอกจากนี้ควรระวังเรื่องการใส่ยีสต์ไม่ควรที่จะใช้ยีสต์น้อยเกินไปหรือมากเกินไป รวมถึงยีสต์ที่เอามาใช้ก็ไม่ควรนำเอายีสต์ที่เสื่อมคุณภาพแล้วมาใช้ ในส่วนของวิธีการการนวดแป้งเองก็มีความสำคัญมากเช่นกัน โดยไม่ควรนวดแป้งน้อยเกินไปหรือมากเกินไป นอกจากนี้ยังมีรายละเอียดเล็กๆน้อยๆที่สำคัญอีกมากเช่น แม่พิมพ์ที่ใช้ไม่ควรเลือกพิมพ์ที่ใหญ่เกินไป และพยายามอย่าใช้อุณหภูมิที่ใช้อบสูงเกินไป เป็นต้น ยังไม่หมดเพียงเท่านี้ขนมปังยังมีกลเม็ดให้เราได้เรียนรู้และพัฒนาอีกมาก หากผู้ใดมีใจรักที่จะเริ่มเรียนทำเบเกอรี่แต่ยังไม่กล่าหรือกลัวว่าจะทำไม่ได้ จงบอกตัวเองว่า“อย่ากลัวที่จะเรียนรู้”

ฉะนั้นแล้วผู้ที่สนใจเกี่ยวกับขนมปัง หรือต้องการเรียนทำขนมปัง ควรที่จะฝึกฝนอยู่เป็นประจำ และหัดเรียนทำเบเกอรี่ชนิดอื่นๆเพื่อให้เกิดการพัฒนาและนำเอาข้อควรแก้ไขที่พบมาปรับปรุง ซึ่งไม่นานก็จะสามารถพัฒนาตัวเองให้ประสบความสำเร็จได้ไม่ยาก

 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น